เศรษฐกิจพอเพียง

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

การทำปุ๋ยหมักในตะกร้า ในเข่ง ในตาข่าย


อันดับแรก หาตะกร้าผ้า หรือเข่ง หรือตาข่าย ...
ถ้าซื้อตาข่าย (เหล็กหรือไนล่อนก็ได้) มา 3.20 เมตร 
ก็จะทำวงเส้นผ่านศูนย์กลางได้ประมาณ 1 เมตร

1. วางใบไม้ เศษผัก เศษหญ้า 3 ส่วนหนา 5 ซม. โรยทับด้วยขี้วัว 1 ส่วน รดน้ำทุกชั้น ... 
วางอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนเต็มเข่งหรือตะกร้า ด้านบนเป็นขี้วัว ... 
ใครจะเอาอึน้องหมาน้องแมวซ่อนตามชั้นก็ได้ รับรองไม่มีกลิ่นครับ ... 
รวมทั้งเศษอาหารหรือเศษผัก

(โดยการตวงปริมาตร ไม่ใช่การชั่งน้ำหนัก) แล้วรดน้ำ .... วางเบา ๆ สลับไปเรื่อย ๆ 


ตัวอย่างเช่น ถ้าการวางใบไม้หนา 5 ซม. ใช้ไปทั้งหมด 6 กะละมัง 
ก็ให้โรยด้วยมูลสัตว์ 2 กะละมัง (สัดส่วน 3 ต่อ 1 โดยการตวง) อย่างนี้เป็นต้น .... 
มูลสัตว์จะไม่มีความหนาเพราะจะแทรกเข้าไปในใบไม้เอง .... แล้วรดน้ำ .... 
ทำอย่างนี้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ 


หรือท่านใดจะคลุกเคล้าใบไม้ 3 กะละมังกับมูลสัตว์ 1 กะละมัง ผสมน้ำให้ชื้น 
แล้วเทลงในภาชนะ  เสร็จแล้วรดน้ำภายนอกบ่อย ๆ หรือวันเว้นวัน ... 
แล้วทุก 10 วันก็ให้เอาสายยางน้ำเสียบลงไปในแนวดิ่งเพื่อเติมน้ำข้างใน 
แทงลึกสัก 2 ใน 3 ครับ ระยะห่างแต่ละรูู 10 ซม. .... 
การเสียบแนวดิ่งเติมน้ำ เข่งหนึ่งใช้เวลาแค่ 10 วินาทีก็พอ

รดน้ำภายนอกบ่อย ๆ ถ้าไม่ลืม ... ทุก 10 วันเอาสายยางน้ำเสียบลงไป ระยะห่าง 10 ซม. ... ให้วางบนดินเพราะอาจมีน้ำซึมออกมาบ้าง ห้ามทำให้แน่น ..... 
มูลสัตว์ใช้ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ ได้หมดทั้งสดหรือแห้ง 


2.เอากะละมังรองเอาน้ำไนโตรเจนไปรดผักได้อีก


3. ครบ 2 เดือน แกะเอาใบไม้ด้านบนส่วนที่ไม่เปื่อยออก

4. คว่ำปุ๋ยหมักในเข่งหรือตะกร้าออก

5. แกะใบไม้รอบ ๆ ที่ไม่เปื่อยออก ที่เหลือคือปุ๋ยหมักทั้งหมดครับ

6. ใบไม้จะเปลี่ยนสภาพเป็นสีคล้ำ นุ่ม ไม่มีกลิ่น

7. ต้องทิ้งให้แห้งก่อนใช้

8. มีไส้เดือนแถมมาด้วย

9. วิธีการใช้ปุ๋ยหมักที่แห้งแล้วคือ 1 กำมือต่อกระถาง หรือผสมดิน 7 ส่วนต่อปุ๋ยหมัก 1 ส่วนทำดินปลูกครับ หรือถ้าเป็นแปลงผักก็ใช้ไม่เกิน 2 กก.ต่อตารางเมตร


ดูคลิปการเสียบสายยางแนวดิ่งhttps://www.facebook.com/CompostClassroom/videos/1070445709638507/?permPage=1 

การเสียบเปิดน้ำแบบนี้จะมีน้ำซึมออกมาจากก้นตะกร้าบ้าง 
จึงควรวางตะกร้าบนพื้นดินตามมุมสวน (วางบนหญ้า หญ้าจะตาย) 
ถ้าวางบนพื้นคอนกรีตก็มักจะทำให้พื้นเปื้อน ...... 
หรือจะวางบนกะละมังก็ได้เพื่อจะได้รวบรวมเอาน้ำที่ออกมาที่ก้นเข่งไปรดต้นไม้ 
น้ำที่ออกมานี้อุดมด้วยไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์แรงพอ ๆ กับน้ำละลายปุ๋ยยูเรีย .... 

น้ำไนโตรเจนนี้รดพืชบ่อยไม่ได้ รดมากก็ไม่ได้ พืชจะตาย ... 
ถ้าเป็นผักกินใบก็รดทุกอาทิตย์ ถ้าเป็นไม้ประดับก็ปีละ 2-3 ครั้ง ..... 
ไม้ผลรดบ่อย ๆ จะกลายเป็นบ้าใบไปครับ ...... 

ไม้กระถางผมรดทีละ 1 แก้วเท่านั้น ..... 
น้ำนี้ไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะไม่อยากให้กลายเป็นกรด 
เดี๋ยวจะยุ่งยากขึ้นไปอีก อยากให้รีบใช้ให้หมดเมื่อเกิดน้ำครับ 

พอครบ 2 เดือน ก็หยิบเอาใบไม้ที่ไม่เปื่อยที่ผิวหน้าออก แล้วเททั้งหมดคว่ำออก 
หรือแกะเอาตาข่ายออก ... หยิบใบไม้ด้านข้างที่ไม่เปื่อยออก .... 
ถ้าดูแลน้ำไม่บกพร่อง ที่เหลือก็คือปุ๋ยหมักทั้งหมด ... 

หลังจากนั้น ทิ้งให้แห้ง จะตากแดดก็ได้ แล้วค่อยเก็บใส่ถุง ... 
ใบไม้ที่ไม่เปื่อยก็เอาทำปุ๋ยหมักรุ่นต่อไป 
ปกติการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับ จะมีใบไม้ที่ไม่เปื่อยประมาณ 3% 
ปริมาณการใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกผักก็คือ ตารางเมตรละ 0.5 - 2 กก. 

ใส่มากกว่า 2 กก.ต่อตารางเมตรไม่ได้ 
พืชจะสำลักจุลธาตุ ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารหลัก ที่มาจากเศษพืชวัตถุดิบ .... 
เรากำลังทำปุ๋ยหมัก ไม่ได้ทำดินปลูกนะครับ มีเศษอาหาร (ไม่เอาน้ำแกง) 
มีอึ๊น้องหมาน้องแมว ก็เอามาซ่อนในตะกร้าหรือเข่งได้ครับ รับรองว่าพอครบสองเดือน
ก็จะละลายเป็นปุ๋ยหมักหมด หาไม่เจอครับ .... 

หรือจะวางเป็นชั้นสลับกับใบไม้ตั้งแต่แรกก็ได้ อาจพัฒนาไปทำในเข่งที่ใหญ่ขึ้น 
หรือวงตาข่ายไนล่อนหรือตาข่ายเหล็ก ... แต่ขอเน้นวัสดุที่มีรูด้านข้างนะครับ
 รูด้านข้างช่วยให้มีอากาศสำหรับการย่อยสลายแบบใช้ออกซิเจนที่ไม่ส่งกลิ่น ... 

การทำในถังวงคอนกรีต หรือในคอกซีเมนต์บล็อก หรือในหลุม 
อากาศจะเข้าทางด้านข้างไม่ได้ จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเพราะจุลินทรีย์ขาดออกซิเจน 
แถมน้ำขังข้างใต้อีกต่างหาก การทำปุ๋ยหมักวิธีนี้เหมาะกับบ้านเรือนที่มีใบไม้ไม่มาก 
ไม่ต้องการปุ๋ยหมักเยอะ ๆ เพื่อการเกษตร ... 

เป็นวิธีที่จำลองและย่อมาจากการทำปุ๋ยหมักแบบกองแถวยาวไม่พลิกกลับกอง วิศวกรรมแม่โจ้ 1 ครับ เหมาะกับโรงเรียน หน่วยงาน ส่วนราชการด้วยครับ 

การทำปุ๋ยหมักในตะกร้าหรือเข่งแบบนี้รับประกันว่าไม่มีกลิ่น ไม่มีแมลงวัน 
อาจมีไส้เดือนบ้าง คงไม่ตกใจกันนะครับ


อ้างอิง : https://www.facebook.com/CompostClassroom/
ขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผู้คิดค้นและถ่ายทอดภูมิปัญญา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น