เศรษฐกิจพอเพียง

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

กลางบังคับกล้วยตกเครือกลางลำต้น





1. เลือกแปลงปลูกกล้วยที่มีอายุ 7 เดือนขึ้นไป
2. สังเกตการเกิดใบธงของกล้วย โดยอาศัยหลักการทั่วไปว่า ใบกล้วยในช่วงการเจริญเติบโตจะมีขนาดและจำนวนเพิ่มขึ้นจนถึงใบที่ 33 หลังจากนั้นใบจะเริ่มเล็กลงประมาณ 6-8ใบ จากนั้นจึงออกดอก(ปลี) ดังนั้นกล้วยจะต้องมีใบอย่างน้อย 39 ใบจึงจะแทงช่อดอก แต่ในทางปฏิบัติจริงไม่สามารถนับจำนวนใบตั้งแต่ใบที่ 1 ถึงใบที่ 33ได้ เนื่องจากมีความยุ่งยากในการจดจำและมีความคลาดเคลื่อนในวันปลูก อีกทั้งไม่สามารถนำไปปฏิบัติจริงในแปลงเกษตรกรได้ จึงอาศัยการสังเกตขนาดใบที่ยังม้วนอยู่โดยลักษณะการม้วนจะหลวม ๆ และมีขนาดสั้นลง มองได้โดยสายตาอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากการม้วนของใบในช่วงการเจริญเติบโตจะมีลักษณะม้วนแน่น ยาวใกล้เคียงกับใบปกติ

3. ทำการเจาะลำต้น โดยสังเกตใบม้วนด้านที่มีการทับซ้อนกันอยู่ ใบกล้วยขณะม้วนอยู่ ส่วนขาวจะม้วนทับซ้ายแล้วจะคลี่จากปลาย ลงมาหาโคนใบ ในฤดูร้อนใบกล้วยใช้เวลาคลี่ 4 วัน ฤดูหนาวใช้เวลา 14 วัน ดังนั้นให้สังเกตด้านที่ใบมีการทับซ้อนกัน นั้นคือด้านที่ปลีกล้วยจะโค้งโผล่ออกมา และด้านนี้เองร่องของใบธงจะโอบก้านเครือกล้วยไว้โดยธรรมชาติเพื่อป้องกันปลีอ่อนถูกกระทบกระเทือน แล้วจึงทำการเจาะลำต้นด้านนี้ด้วยมีดปลายแหลม ให้มีแผลกว้าง 9 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร เจาะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามความยาวของลำต้น แล้วแกะกาบกล้วยออกเป็นชั้น ๆ จนกระทั่งพบแกนกลางของต้นกล้วย จากนั้นตัดแกนกลางออกเท่ากับความยาวของแผล แล้วจึงใช้วัสดุพลาสติกแผ่นแข็ง(ฟิวเจอร์บอร์ด) กว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร สอดเข้าไปเพื่อกั้นแกนกลางลำต้นกล้วยด้านบนของแผล จากนั้นตาดอกที่อยู่กลางเหง้าใต้ดินจะเจริญเติบโตผ่านกลางลำต้นเหนือดินแล้วโผล่ออกมาทางยอดใช้เวลาประมาณ 30 วัน เมื่อตาดอกปลีกล้วยงอกจากเหง้าใต้ดินขึ้นมาชนกับแผ่นพลาสติกที่กั้นไว้ จึงทำให้หน่อหรือปลีกล้วยเลี้ยวโค้งออกมา ปรากฏให้เห็นเครือกล้วยออกกลางลำต้น

4. ติดป้ายบอกวันที่ /เดือน / ปี ที่ทำการเจาะลำต้นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในพื้นที่ของตนเอง
5. ให้ทำการพ่นสารป้องกันเชื้อราและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช บริเวณแผลที่ทำการเจาะทันทีด้วย เมทาแลกซิล (Metalaxyl) ผสมกับอะบาเม็กติน(Abamactin) ตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ในฉลาก หลังจากนั้นฉีดพ่นทุกอาทิตย์ เพื่อป้องกันโรคตายพราย โรคเหี่ยวของกล้วย ด้วงงวงไชเหง้า ไชลำต้น ไชกาบใบ เป็นต้น

6.บำรุงรักษาลำต้นด้วยการให้น้ำ ให้ปุ๋ย ตัดแต่งใบแก่ ให้เหลือใบไว้บนลำต้นประมาณ 8-10 ใบ และตัดหน่อกล้วยออกทิ้ง ในกล้วยหอม กล้วยไข่ ให้ไว้เฉพาะต้นแม่เพียงหนึ่งต้น ส่วนกล้วยน้ำว้ายอมให้มีหน่อได้ไม่เกิน 2-3 หน่อต่อต้น











=====================================
ขอบคุณที่มา: สาระน่ารู้ คู่การเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น