เศรษฐกิจพอเพียง

วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

โรงเรือนจากท่อ PVC (พีวีซี) ขนาด 1/2 นิ้ว ทำเองก็ได้





ท่อ PVC ท่านสามารถหาซื้อได้ทั่วไป
ตามร้านวัสดุก่อสร้าง โฮมมาร์ท ไทวัสดุ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่นแต่ราคาก็จะแตกต่างกันไป

สีฟ้า ท่อระบบน้ำดื่ม เริ่มต้นตั้งแต่ 30 - 60 บาท / เส้น  ( PCV เส้นหนึ่งยาว 4 เมตร ) 

สีขาว ท่อระบบเดินไฟฟ้าในอาคาร เริ่มต้นตั้งแต่ 30 - 80 บาท / เส้น  ( PCV เส้นหนึ่งยาว 3 เมตร )

ข้อต่อ PVC แต่ละรูปแบบที่ใช้หลัก ๆ และมีขายทั่วไปมีดังนี้


3  ทางฉาก 90  องศา   ขนาด  1/2 นิ้ว




----------------------------------------------------------------------------------------------

3 ทาง  90  องศา   ขนาด  1/2 นิ้ว


----------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อต่อ PVC   4  ทาง  90  องศา   ขนาด  1/2 นิ้ว  (ลักษณะเครื่องหมายบวกครับ)



----------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อต่อแยก  PVC   4  ทาง ฉาก  90  องศา   ขนาด  1/2 นิ้ว
  
----------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อต่อ งอ 90 องศา   ขนาด  1/2 นิ้ว 



----------------------------------------------------------------------------------------------




ภาพแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ข้อต่อประเภทต่าง ๆ  

น่าจะพอช่วยให้เกิดจินตนาการ เพื่อนำไปต่อยอด ทำขึ้นมาใช้เองได้บ้างนะครับ

หากท่านต้องการที่จะประหยัด และได้ใช้เวลาว่าง ทำงานอดิเรกที่ท่านชอบ 




ภาพอีกด้านหนึ่งครับ 




วิธีการดัดโค้ง แบบครึ่งวงกลม ผมใช้ปืนเป่าลมร้อน ช่วยในการเร่งความร้อนบริเวณรอบ ๆ ผิวท่อ

สามารถใช้ดัดได้ดี คงรูป ไม่คืนสภาพเดิมครับ เวลาเราประกอบในโครงสร้างจริง มันจะไม่ดันส่วนประกอบให้แยกออกจากกัน  






สังเกตว่าด้านบนของส่วนที่โค้ง แบบครึ่งวงกลมนั้น  จะเสริมด้วยคานทับบน อีก 3 เส้น ส่วนนี้จะช่วยไม่ให้พลาสติกตก ร่องของคานโค้งของเรา พลาสติกจะดูเรียบร้อยกว่าปกติครับ 




ภาพนี้ลูกค้าของทางร้านระเบียงไม้ ส่งมาให้ ส่งถึงมือ พอลูกค้าถึงบ้านก็ ประกอบและคลุมพลาสติกเอง (ผู้ชาย) ทำคนเดียว ล็อคพลาสติกจะยากหน่อยแต่ ล็อคเสร็จก็จะแข็งแรงนะครับ 




เสร็จแบบเกือบสมบูรณ์ รอการล็อคพลาสติกให้ครบทุกตำแหน่ง 



Cr:ระเบียงไม้ https://goo.gl/WIv7rA

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

DIY จัดห้องเก็บของ 14 แบบ

ห้องเก็บของ


1.Wall storage : แนวขอเกี่ยวติดฝาผนัง เป็นวิธีที่ดีมาก นอกจากประหยัดพื้นที่แล้ว ยังมองหาหยิบจับเครื่องมือมาใช้งานได้อย่างง่าย ๆ



2. Chalkboard Labels : กระดานดำประตูตู้เก็บของ ใช้ชอล์กเขียน ชื่อวัสดุอุปกรณ์ ที่คุณเก็บในลิ้นชัก,ตู้,กล่องให้เรียบร้อย เท่านี้ทุกคนในบ้านคุณก็จะรู้ตำแหน่งสิ่งของที่ต้องการ ไม่ต้องเสียเวลานั้งหาทั้งวัน



3. Magic Magnets : แถบพลังแม่เหล็ก จัดการเครื่องมือประเภทเหล็ก หรือวัสดุอุปกรณ์เล็กๆ เช่น ตะปู น็อต อย่างเข้าที่เข้าทาง หาได้ง่าย แถมดูสะอาดตาดีด้วย



4. Tape dispenser : แท่นตัดเทปพร้อมใช้ เชื่อว่าห้องเก็บของทุกบ้านต้องมีเทปกาวเหล่านี้อย่างน้อย 2-3 ชนิดเก็บไว้ในลิ้นชัก พอจะใช้งาน ก็ต้องค้นหาเทป ค้นหากรรไกร ตัดเป็นชิ้นๆ มาประหยัดเวลากันดีกว่าไหม ด้วยแท่นตัดเทปพร้อมใช้งานนี้



5.Pegboards : ตะแกรงเจาะรู คุณสามารถโยกย้ายตำแหน่งขอเกี่ยวได้ตามใช้งาน สะดวก สะอาด และเป็นระเบียบ


6. Bungee Balls : สายรัดเก็บบอล DIY สายรัดเหล่านี้ให้เป็นพื้นที่เก็บอุปกรณ์กีฬา อย่างลูกบาส ลูกบอล นอกจากดูเก๋ไก๋แล้ว คุณยังมั่นใจได้ ว่าบอลจะไม่กลิ้นบนพื้นให้เป็นอันตรายได้แน่นอน



7.Recycled PVC pipes : ท่อน้ำจัดเก็บ เหมาะที่สุดสำหรับเครื่องมือด้านยาว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเกษตร ไม้กวาด ไม้ถูกพื้น แค่คุณตัดท่อน้ำ 2 ท่อนขนาดพอเหมาะ เจาะติดฝาผนัง ก็สามารถจัดเก็บเครื่องมือด้านยาวได้อย่างลงตัว


8.Screwdriver rack : ชั้นเก็บไขควง สร้างระบบระเบียบการค้นหาไขควงหลากหลายขนาดให้ง่ายขึ้น คุณสามารถใช้ไอเดีย DIY ชั้นเก็บไขควงได้ตามใจชอบ จะแนวไม้แนวเหล็ก ก็ดูดีทุกแนว



9. Recycling Station : ชั้นรีไซเคิล แทนที่จะกองขวดน้ำ,กระป๋องน้ำอัดลม หรือกระดาษโปรชัวต่างๆ ไว้ตามมุมห้อง ลองมาDIY ชั้นเก็บของเหล่านี้ง่ายๆ ก็สะดวกดีในการนำไปรีไซเคิล หรือเก็บขายของเก่า แถมห้องไม่ดูสกปรกเลอะเทอะด้วย


10.An organized cabinet : ตู้เก็บเครื่องมือ คำตอบที่ง่ายที่สุดสำหรับจัดเก็บสิ่งของ DIY ตู้เก็บของง่ายๆตามประโยชน์ใช้สอย ไม่จำเป็นต้องมีแค่ตู้เดียวในห้องเก็บของ คุณสามารถสร้างสรรค์ตู้เก็บของได้ทั้งในห้องทำงาน ,ห้องครัว และห้องนอนของคุณ


11. Label everything : ป้ายชื่อ หากคุณมีกล่องหรือถังแยกประเภทของใช้อยู่แล้ว สำคัญที่สุดคือ ป้ายชื่อบอกสิ่งของในกล่องนั้นๆ


12. Cans and Such : แถบกระปุกอุปกรณ์จิ๋ว DIY กระปุกพลาสติกใสเหลือใช้ จับใส่อุปกรณ์จิ๋ว เช่น ตะปู ตัวน็อต เป็นต้น แล้วเจาะฝากระปุกเข้ากับแถบไม้ ติดไว้ใต้ชั้นวางของต่างๆ รับรองว่าไม่มีหล่นไม่หายอย่างแน่นอน



13 Wire shelves : ชั้นตะแกรงวาง วิธีแสนธรรมดาที่ไม่ได้แปลกใหม่ แต่ก็สร้างประโยชน์ได้จริงในการใช้งาน จัดระเบียบห้องเก็บของได้เรียบ คงทน ไม่ต้องดูแลรักษาชั้นวางให้วุ่นวาย




14.Use the ceiling : เพดานแขวนเก็บของ หากคุณไม่พบพื้นที่เก็บของทั้งพื้นและฝาผนัง คุณยังเหลือพื้นที่เพดานอยู่นะ เลือกวัสดุอุปกรณ์ที่คุณไม่ค่อยได้ใช้ใส่กล่องแขวนเพดานสิ


ที่มา : http://www.homedit.com

วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560

สูตรปุ๋ย ฮอร์โมนเร่งดอก ผล กำจัดไล่แมลง.ทำเองได้ง่ายที่สุด


การขยายจุลินทรีย์ EM
1. จุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร
วิธีทำ
ผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล และน้ำเข้าด้วยกัน ใส่ขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ 3 – 5 วัน
จะเป็นหัวเชื้อขยายเป็นการนำจุลินทรีย์มาขยายให้ได้จำนวนมาก ลดต้นทุนนำไปใช้หรือขยายต่อได้อีก
(เก็บไว้ได้นาน 3 เดือน)

วิธีใช้
ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ฮอร์โมน สารไล่แมลง และปุ๋ยแห้ง ฯลฯ
หมายเหตุ 1 แก้ว ประมาณ 250 ซีซี
1 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 10 ซีซี

การทำฮอร์โมนผลไม้
1. มะละกอสุก 2 กก./ สัปรดสุก
2. ฟักทองแก่จัด 2 กก.
3 . กล้วยน้ำว้าสุก 2 กก.
4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
5. กากน้ำตาล 1 แก้ว
6. น้ำสะอาด 1 ถัง หรือ 10 ลิตร
วิธีทำ
สับมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดให้เข้ากันผสม EM และกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว ใส่น้ำ
10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากันปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 7 – 8 วัน เปิดก๊อกแล้วกรองใส่ขวดเก็บได้นาน 3 เดือน
วิธีใช้
4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตรหรือถัง 1 ถัง ฉีด พ่น ราด จะทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี
รสชาติอร่อย





การทำฮอร์โมนยอดพืช
1. ยอด/ใบยูคาลิปตัส 1 กก./ ใบกระเพรา / ยอดใบโหระพา
2. ยอดสะเดา 1 กก. (ยอดและเมล็ด)
3. น้ำสะอาด 1 ถัง / 10 ลิตร
4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
5. กากน้ำตาล 1 แก้ว

วิธีทำ
นำใบยูคาลิปตัส ยอดสะเดา และน้ำ 10 ลิตร ต้มรวมกันประมาณ 15 นาที  ทิ้งให้เย็น ผสมจุลินทรีย์ EM
1 แก้ว กากน้ำตาล 1 แก้ว ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 7 – 10 วัน ใช้ได้
วิธีใช้
4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตรหรือถัง 1 ถัง ฉีด พ่น ราด รด จะทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี

ขั้วเหนียว รสชาติอร่อย.!!







การทำปุ๋ยน้ำ (ใช้ทันที)

1. จุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง
วิธีทำ
นำจุลินทรีย์ EM และกาน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน

วิธีใช้
พืช ผัก ใช้ ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน ไม้ดอกไม้ผล พืชสวน ฉีด พ่น ทุก 7 วัน เดือนละ 1 – 2 ครั้ง
ใช้ให้หมดภายใน 1 วัน หากไม่หมดให้นำไปราดห้องน้ำ ล้างพื้นซีเมนต์หรือเทลงท่อระบายน้ำกำจัดกลิ่นเหม็น






สูตรไล่หนอน,กำจัดแมลง ทุกชนิด ได้ผลชงัดนักแล.!!
1. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
2. กากน้ำตาล 1 แก้ว
3. น้ำสมสายชู 5% 1 แก้ว
4. เหล้าขาว 28 – 40 ดีกรี 2 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร




วิธีทำ
นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 7 – 10 วัน เขย่าถังเบาๆ ทุกวันและเปิดฝานิดๆ
ให้ก๊าซระบายออก ครบกำหนดเก็บใส่ขวดพลาสติกเก็บไว้ใช้ได้นาน 3 เดือน /หลัง3 เดืือนจะเป็นยาฆ่าหญ้า
วิธีใช้
4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืชผัก ไม้ใบ ไม้ดอก พืชสวน ทุกสัปดาห์





สูตรไล่หอย , เพลี้ยไฟ
1. ยอดยูคาลิปตัส 2 กก.
2. ยอดสะเดา 20 ยอด หรือ 2 กก.
3. ข่าแก่ 2 กก.
4. บอระเพ็ด 2 กก.
5. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
6. กากน้ำตาล 1 แก้ว
วิธีทำ
นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกันใส่ปิ๊บ ใส่น้ำให้เต็ม ต้มให้เหลือน้ำ
อย่างละครึ่งปิ๊บ ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทรวมกันในถังใหญ่หรือโอ่ง ใส่จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
วิธีใช้
ใช้แก้วผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ในแปลง ผัก พืช ในนาข้าว ป้องกันใบข้าวไหม้ด้วย

การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)
1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน (กระสอบ)
2. แกลบดิบ 1 ส่วน (กระสอบ)
3. รำละเอียด 1 ส่วน (กระสอบ)
4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง

วิธีทำ
ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ
ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ
นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %(กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)
การหมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้

การเก็บรักษา
เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษา
ได้นานประมาณ 1 ปี
วิธีใช้
1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้
2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง, ฟางแห้ง
4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น
ข้อควรจำ
เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี




สูตรน้ำซาวข้าว
1. น้ำซาวข้าว (ประมาณ) 2 ลิตร
2. จุลินทรีย์ EM 1  ช้อนโต๊ะ
3. กากน้ำตาล 1 ช้อนชา
4. น้ำสะอาด ? แก้ว
วิธีทำ
1. น้ำซาวข้าว (น้ำเพื่อล้างฝุ่นข้าวและส่งสกปรกออกก่อนนำไปหุง) ประมาณ 2 ลิตร หากไม่ถึงให้เติมน้ำสะอาดลงไปกรองด้วยผ้าขาวบางให้ใส
2. ผสมกากน้ำตาลที่ละลายน้ำเจือจางแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำซาวข้าวใส่จุลินทรีย์ EM 1 ? ช้อนโต๊ะ แล้วบรรจุ ในขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้สนิท
3. เก็บไว้ประมาณ 3 – 5 วัน น้ำที่ได้มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมจึงนำไปใช้
วิธีใช้
1. ใช้แทนผงซักฟอก โดยใช้สูตรน้ำซาวข้าว ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 20 แช่ผ้าทิ้งไว้ 1 คืน กรณีใช้เครื่องซักผ้าประมาณ 500 ซีซี วันรุ่งขึ้นซักน้ำสะอาด และน้ำผ้าตากให้แห้ง ผ้าจะสะอาดไม่มีกลิ่น ไม่กระด้าง รีดง่าย
2. ใช้เป็นสเปรย์ดับกลิ่น โดยนำสูตรน้ำซาวข้าว ใส่ขวดที่มีหัวฉีดเป็นละออง ดับกลิ่นเหม็นติดเสื้อผ้า กลิ่นอับในรถยนต์
3. ใช้ผสมน้ำถูพื้นบ้าน พื้นครัว (อัตราส่วนตามความสกปรก)
4. กรณีมีตะกอนที่ก้นขวด ให้ใช้เฉพาะน้ำใสเท่านั้น
5. ใช้ให้หมดภายในเวลาประมาณ 3 – 5 วัน
หมายเหตุ หากดมดูมีกลิ่นเหม็น ใส่กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกันนำไปราดท่อระบายน้ำ หรือเทลงในส้วม







สูตรสารไล่แมลง
1. ลูกยอสุก 1 กก.
2. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
3. กากน้ำตาล 1 แก้ว
วิธีทำ
นำลูกยอสุกมาสับให้ละเอียด ใส่น้ำพอท่วมผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล คนให้เข้ากัน หมักไว้ 10 วัน พอได้ที่คั้นเอาแต่น้ำมาใช้
วิธีใช้
สารไล่แมลง 1 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด
วัตถุที่ใช้แทนกากน้ำตาล
- น้ำผึ้ง , น้ำตาลทรายแดง , นมสด
- น้ำผลไม้สดทุกชนิด เช่น น้ำมะพร้าว น้ำส้ม น้ำสับปะรด น้ำอ้อน ฯลฯ
- น้ำซาวข้าว
- น้ำปัสสาวะ
- ฯลฯ







วิธีทำปุ๋ยยูเรียน้ำ สูตรหนึ่ง

1ใช้ถั่วเหลือง 1kg
2กากน้ำตาล 1kg
3น้ำมะพร้าว 10ลิตร
ใช้ถ่วเหลืองดิบๆไม่ต้องต้มหมักรวมกับกากน้ำตาลและน้ำมะพร้าว หมักทิ้งไว้ 14 วัน
กรองเอาแต่น้ำ จะได้น้ำปุ๋ยหมักยูเรีย ที่เทียบเท่า
ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 หนึ่งกระสอบ
แต่เราสามารถทำได้ในราคาไม่เกินร้อย
วิธีใช้สองช้อนแกงต่อน้ำเปล่ายี่สิบลิตร หรือ1/1000
จะฉีดทางใบหรือจะลดโคนต้นก็ได้ทุกๆเจ็ดวันถึงสิบวัน
จะได้เท่ากับปุ๋ยสูตร 57-0-0 เลยทีเดียว






การผลิตปุ๋ยยูเรียอินทรีย์ สูตรสอง
ส่วนผสม
          ๑. ถั่วเหลืองเมล็ดแห้ง (บด) ๑ กิโลกรัม
          ๒. สับปะรด ๒ กิโลกรัม
          ๓. กากน้ำตาล ๓ กิโลกรัม
          ๔. น้ำชาวข้าว หรือน้ำมะพร้าว ๑๐ ลิตร
          ๕. จุลินทรีย์หน่อกล้วย ๑ กิโลกรัม

วิธีทำ / วิธีใช็    
         
           ๑. ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน หมัก ๑๕ วัน (คนทุกวัน)
           ๒. ใช้ทางดิน ปุ๋ย ๑ ลิตร ต่อน้ำ ๕๐๐ ลิตร
                                 ปุ๋ย ๔ ช้อน ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
           ๓. ใช้ทางใบ ปุ๋ย ๑ ลิตร ต่อน้ำ ๑,๐๐๐ ลิตร
                                 ปุ๋ย ๒ ช้อน ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร                                                                                                                            ๔. ปุ๋ยยูเรียน้ำ ๕ ลิตร เท่ากับปุ๋ยสูตร 46-0-0




แหล่งที่มา  :  นายอธีศพัฒน์ วรรณสุทธิ์   นักปราชญ์ชาวบ้าน  จากมูลนิธิชัยพัฒนา

การฝากท้องมะม่วงให้ติดผลง่าย


การฝากท้องด้วยน้ำดอกไม่ จะทำให้ เขียวดกขึ้น
สู้ฝนทนอากาศ ติดผลง่ายขึ้น และ น้ำดอกไม้ที่ฝากก็ดก มาก ผลสวยเสมอ

ปัจจุบันนี้ก็ยังนำมาใช้แก้ปัญหาการติดผลใน ทฤษฎี เกสรต่างสายพันธุ์
ติดผลง่าย สู้ฝนทนอากาศได้ดีกว่า จึงเสนอ เรื่อง "การฝากท้อง มะม่วง"




1 เลือกยอดมะม่วงที่จะฝากท้องกับต้นแม่ ริดใบออกให้หมด ตัดยอดอ่อนอ่อนด้วย

2.ควรจะเลือกเสียบยอดในช่วงเดือนพฤษภาคม เพราะต้นจะสมบูรณ์




3. เลือกกิ่งต้นแม่ที่สมบูรณ์ตามรูปแล้วกรีดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ความกว้างประมาณครึ่งนิ้วยาวประมาณ 2 นิ้ว
กรีดให้ถึงเนื้อเซล แล้วลอกเปลือกไม้ออกครึ่งนึง
เหลือไว้หนีบยอดด้วย ตามรูป




4. ตัดปลายกิ่งที่เลือกมาฝากต้นแม่ เป็นปากฉลาม ตามรูป



5.เสียบเข้าไปในเปลือกไม้ที่เหลือไว้ที่ต้นแม่





6 ใช้เทปพันกิ่ง พันจากด้านล่างขึ้นมา พันสองรอบปิดให้มิด




7. ผ่านไปประมาณสิบห้าวันหรือสองอาทิตย์
ยอดอ่อนจะแตก ใช้มีดกรีดเทปพันกิ่ง บริเวณที่ยอดอ่อนแตกเพื่อให้ยอดออกได้สะดวกขึ้น

ลิงก์วีดีโอการฝากท้องมะม่วง โดยคุณสุชาติ ชดช้อย ขอขอบพระคุณค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=mrOTH7nU1dE

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหาร

สำหรับวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหารที่เราทิ้งกันเเทบจะทุกวันนั้นก็มีวิธีง่ายๆ ชนิดที่เมื่อหมักได้ที่เเล้วก็สามารถนำไปใช้ได้เลยโดยที่ไม่ต้องมานั่งกรองกากเศษอาหารที่ยังย่อยไม่หมดออก 
สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม มีดังนี้ 
1.ถุงกระสอบดินสำหรับใส่เศษอาหาร
2. ถังมีฝาปิด ขนาดที่สามารถใส่น้ำได้ 10 ลิตรขึ้นไป 
3. น้ำตาล 1 กิโลกรัม
4. น้ำสะอาด 10 ลิตร ควรพักคลอรีนไว้สัก 1-2 คืน 
วิธีทำ
- นำน้ำสะอาด 10 ลิตรมาเติมลงในถัง ใส่กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม หรือใส่น้ำตาล 1 ส่วน ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน 
 - จากนั้น นำเศษอาหารใส่ลงในกระสอบ (กระสอบดินถุงที่พอจะมีช่องระบายอากาศ) มัดปากถุงแล้วแช่ลงไป โดยเเนะนำว่าไม่ควรใส่เศษอาหารเกิน 3 ส่วน
- หมักทิ้งไว้ประมาณ 20-30 วัน โดยควรปิดฝาให้สนิท เพื่อให้แมลงจะได้ไม่มาไข่ เเละทำให้ถังหมักของเราไม่มีหนอน
 
เวลานำมาใช้รดน้ำต้นไม้ ก็ควรจะผสมให้เจือจาง เเนะนำว่าควรใช้ 2 ฝา ต่อน้ำ 1 บัว (ประมาณ 20 ลิตร) 
ส่วนกากที่เหลือก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยต่อได้  โดยนำมาผสมกับใบไม้แห้ง เเละปุ๋ยคอก  รดน้ำปรับความชื้น60 เปอร์เซ็นต์ ทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือสังเกตดูจนปุ๋ยหายร้อน ก็สามารถนำไปใช้ได้ 
 
ระหว่างการหมัก ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเทเข้าเทออกสักหน่อย คลายๆกับเป็นการกลับกองไปในตัว เเต่ถ้าลองสังเกตหรือจับดูเเล้วปุ๋ยที่หมักไม่ร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักไม่เกิด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเราปรับความชื้นไม่เหมาะสม หรือใส่สัดส่วนไม่พอดี ระหว่างสิ่งที่ย่อยเร็วกับย่อยช้า 
ลองนำไปทดลองทำกันดูนะคะ ใครทำเเล้วมีปัญหาติดขัดอย่างไรก็ถามกันเข้ามาได้ทาง facebook/สวนผักคนเมือง นะคะ 

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณนคร ลิมปคุปตถาวรค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก เวบสวนผักคนเมืองค่ะ

เคล็ดลับ การปลูกผักในภาชนะให้งอกงาม


 
          หัวใจสำคัญของการปลูกผักให้งอกงามก็คือเรื่องดินหากดินดีมีคุณภาพ ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง อย่างไรก็ตาม การปลูกผักในภาชนะให้งอกงามนั้น ก็มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆอีกไม่น้อย ที่เราควรคำนึงถึง
            มีโอกาสได้ไปฟังอาจารย์ปริยานุช จุลกะ อาจารย์วิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เล่าถึงประสบการณ์ และข้อค้นพบ ในการเรียนรู้เรื่องการปลูกผักในภาชนะของนิสิต ซึ่งอาจารย์ได้มาแบ่งปันความรู้ในงานสัมมนาวิชาการ ปลูกบ้าน ปลูกเมือง ปลูกชีวิต ที่โครงการวิทยาเขตสีเขียวกินได้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดขึ้น เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 58 เลยอยากจะนำมาแบ่งปันให้บรรดานัก(หัด)ปลูกผักในเมือง ที่มีพื้นที่จำกัด ได้เรียนรู้กันนะคะ
 
             อาจารย์ปริยานุช เล่าให้ฟังถึงปัญหาเรื่องการปลูกผักในภาชนะที่พบส่วนใหญ่ พร้อมวิธีการแก้ไขดังนี้
        1.     ปัญหาน้ำแห้งเร็ว ทำให้ผักเหี่ยว
                วิธีแก้ใช้วัสดุปลูกอุ้มน้ำได้ดี ให้น้ำบ่อยขึ้น แต่ไม่ควรให้มากจนน้ำขังแฉะ สำหรับวัสดุปลูกอุ้มน้ำก็เช่นกาบมะพร้าวสับ หรือขุยมะพร้าว ก็ช่วยได้

        2.      ปัญหาน้ำขัง ผักเหี่ยว
                 วิธีแก้ ภาชนะปลูกที่ใช้ต้องเจาะรูระบายน้ำ

        3.      ปัญหา ภาชนะเสื่อมสภาพก่อนเก็บผลผลิต
                 วิธีแก้ เลือกใช้ภาชนะที่มีความทนทานขึ้น

        4.      ปัญหา เกิดตะไคร่รอบขวดพลาสติกใส ซึ่งตะไคร่นี้อาจจะมีส่วนไปแย่งอาหารพืชที่ปลูก
                 วิธีแก้ ทาสีขวดพลาสติกให้ทึบแสง

        5.      ปัญหาผักไม่โต ผักยืดตัว 
                 วิธีแก้ ปัญหาเรื่องผักไม่โต หรือผักยืด อาจเกิดจาก 2 สาเหตุคือ
                  -  ภาชนะอาจเล็กเกินไป วิธีแก้คือ ต้องเลือกภาชนะให้เหมาะสม
                  หากเป็นผักรากตื้น เช่น ผักสลัด ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชี หรือผักกินใบอื่นๆ สามารถปลูกในภาชนะไม่ใหญ่นักได้ ประมาณขนาดกระถาง 6-8 นิ้ว
                 หากเป็นผักรากลึกปานกลาง เช่นกระเพรา โหระพา พริก มะเขือ มะเขือเทศ หรือผักกินผลอื่นๆ ควรเลือกภาชนะที่มีความใหญ่และลึกมากขึ้น ประมาณขนาดกระถาง 10-15 นิ้ว
                  -แสงแดดไม่เพียงพอโดยทั่วไปผักจะต้องการแดดอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
                วิธีแก้คือ หันทิศทางของภาชนะปลูกให้รับแสง และเลือกชนิดผักให้เหมาะสม
               ผักทนร่ม ได้แก่ ชะพลู สะระแหน่ กระเพรา โหระพา พริกขี้หนูสวน
              ผักชอบแดด ได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักสลัด
               อย่างไรก็ตาม หากแสงแดดจัดมากเกินไปก็อาจทำให้น้ำระเหยเร็ว ทำให้ผักเหี่ยวเร็ว เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบเช่นกัน วิธีแก้ก็คือต้องเลือกวัสดุปลูกให้เหมาะสม อุ้มน้ำได้ดีหน่อย และเลือกวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมด้วย เช่นอาจจะทำระบบให้น้ำหยดอัตโนมัติช่วย เป็นต้น
              รู้เคล็ดลับอันเป็นหัวใจสำคัญของการปลูกผักในภาชนะแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาลงมือทำ เรียนรู้ และเติบโตไปพร้อมๆกับผักได้เลยค่ะ 
              ใครยังนึกไม่ค่อยออกว่า ภาชนะที่จะใช้ปลูกผักมีอะไรได้บ้าง ลองดูเเละเลือกรูปเเบบกันได้เลยนะคะ
 
 

             ขอบคุณข้อมุลรูปภาพจากเวบสวนผักคนเมือง

ใครอยากรู้วิธีการปรุงดินให้อร่อย ดี มีคุณภาพ เรียนรู้เพิ่มเติมได้ในเวปสวนผักคนเมือง เรื่องปรุงดิน ปลูกผัก ในเมือง ที่เคยเขียนไว้ตาม link ได้เลยค่ะ http://www.thaicityfarm.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=547&auto_id=29&TopicPk=
หรือเรียนรู้ออนไลน์ในช่อง youtube: thaicityfarm ได้เช่นกันนะคะhttps://www.youtube.com/user/thaicityfarm